ชื่อ: วัดทากาศ
12 ส.ค. 2565
รายละเอียด:
ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดทากาศ
• ชื่อวัด: วัดทากาศ
• ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
• นิกาย: มหานิกาย
• ที่ตั้ง: เลขที่ ๒๑๑ หมู่ ๖ บ้านทากาศ ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน รหัสไปษณีย์ ๕๑๑๗๐
• เนื้อที่: ๒ ไร่ ๑ งาน ๑๘ ตารางวา
• โทร: ๐๕๓-๕๗๔๑๘๒
ประวัติความเป็นมา
วัดทากาศ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑๑ หมู่ ๖ บ้านทากาศ ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินของวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๑๘ ตารางวา เลขที่ ๓๐๘๒ โดยมีอาณาเขตทิศเหนือประมาณ ๓๓ วา ๑ ศอก จดทางสาธารณะทิศตะวันตกประมาณ ๓๑ วา ๒ ศอก จดทางสาธารณะ มีที่ดินธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนวัดทากาศ) เนื้อที่ ๑ ไร่ ๓ งาน ๒ ตารางวา เลขที่ ๓๗๐๕ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ หอพระไตร พระธาตุเจดีย์ ศาลาการเปรียญ กุฏิ วิหารน้อย โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม - ธรรมศึกษา โรงฉัน - โรงครัว ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน พระพุทธรูปเนื้อโลหะและพระพุทธรูปต่าง ๆ
การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอน พ.ศ. ๒๔๘๒ และธรรมศึกษา เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๑๕ นอกจากนี้ได้อนุเคราะห์ให้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลประถมศึกษาขึ้นในที่ธรณีสงฆ์ ชั้นอนุบาล ถึงช่วงชั้นที่ ๑ - ๒ (ประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖)
วัดทากาศ เป็นวัดโบราณเก่าแก่วัดหนึ่งในท้องที่อำเภอแม่ทา ได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีผู้ปกครองนครหริภุญชัย ประมาณเวลาจนถึงบัดนี้ ( พ.ศ. ๒๕๕๖ ) ก็เป็นเวลา ๑๓๕๖ ปี ตามคำบอกเล่าที่สืบต่อกันมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ทวด บอกเล่ากันว่าเมื่อเมืองเชียงใหม่ถูกข้าศึกพม่าเข้าโจมตี จนไม่อาจจะต่อต้านป้องกันไว้ได้ ในที่สุดก็ต้องเสียเมืองให้แก่กองทัพพม่า ในครั้งนั้นผู้คนต่างอพยพกระซานกระเซ็นไปคนละทิศละทาง และมุ่งไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ผ่านเมืองหริภุญชัยขึ้นไปตามลำน้ำแม่ทา จนถึงสถานที่แห่งหนึ่งเป็นที่ราบล้อมด้วยภูเขา มีแม่น้ำสายหนึ่งเรียกว่าแม่น้ำทา ไหลผ่าน เหมาะที่จะตั้งหลักแหล่ง เจ้ากาบแก้วจึงพาหมู่คณะหยุดเพื่อตั้งหลักทำมาหากินอยู่ที่นั้น ต่อมาผู้คนทั้งหลายก็เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะสร้างวัดขึ้นเพื่อศาสนกิจอย่างที่เคยทำมา เมื่ออยู่ในเมืองเชียงใหม่ จึงร่วมกันทำพิธีอธิฐานจิตขอให้เทพยดาทั้งหลายช่วยชี้แนะสถานที่เหมาะสมแก่การสร้างวัดขึ้น ในคืนนั้นได้ปรากฏโคอุศุภราช รูปร่างล่ำสัน ใหญ่โต มาจากไหนไม่มีใครทราบ เมื่อปรากฏกายขึ้นก็เปล่งเสียงร้องก้องกังวาลไปทั่วหมู่บ้าน ร้องพลางเดินพลางและใช้เท้ากาด ( คราด ) เป็นรอยพร้อมทั้งถ่ายปัสสาวะและถ่ายมูลเป็นแนวทางไปด้วย รุ่งเช้าขึ้นมา เจ้ากาบแก้วและคณะก็ได้ออกสำรวจดูพบร่องรอยต่าง ๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้น โดยก่อกำแพงด้วยอิฐถือดินเหนียวไปตามรอยที่โคอุศุภราชสร้างไว้จนจดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม พร้อมสร้างกุฏิสงฆ์ และวิหาร ก่อเป็นโรงกะตึกแบบโบราณไม่มีหน้าต่างแต่มีช่องลมไว้ให้อากาศถ่ายเท ทางด้านข้างทั้งสองด้าน ปั้นเป็นรูปเทวดาล้อมรอบ (แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดนี้ ได้ชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจบูรณะขึ้นได้จนถูกรื้อถอนไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และได้ก่อสร้างขึ้นใหม่แทนที่เดิม) เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเจ้ากาบแก้วและคณะได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดทากาดแก้วกว้างเมืองทา" ที่ใช้ชื่อเช่นนี้เพราะถือเอานิมิตที่โคอุศุภราช มากาด ( คราด ) รอยไว้ การก่อสร้างก็มีเจ้ากาบแก้วเป็นประธาน และสถานที่แห่งนี้มีน้ำทาไหลผ่าน จึงเอาชื่อเหล่านี้มาผสมผสานกันเป็น " วัดทากาดแก้วกว้างเมืองทา " (ในปัจจุบันลำน้ำแม่ทาได้เปลี่ยนทิศทางเป็นตัดตรงไปแล้วอีกแนวทางหนึ่ง ) ภายหลังต่อมาคำว่า " กาด " ได้ถูกเปลี่ยนเป็น " กาศ " เพราะเกรงว่าคนที่ไม่เข้าใจภาษาโบราณจะเข้าใจว่าเป็น " กาด " ที่หมายถึงตลาดที่ขายของจึงเปลี่ยนเป็น " วัดทากาศแก้วกว้างเมืองทา " ต่อมาคำว่าแก้วเมืองกว้างเมืองทา ก็ถูกตัดตอนลงคงเหลือแต่คำว่า " วัดทากาศ " จนถึงปัจจุบัน หลังจากพม่ายึดครองเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นาน ก็ได้แผ่อำนาจเข้ามาตีเอาเมืองหริภุญชัยได้ " วัดทากาศแก้วกว้างเมืองทา " ถูกพม่าเผากุฏิ วิหาร แต่ไฟก็ไม่ไหม้ยังความคร้ามเกรงแก่เหล่าทหารของพม่าเป็นอันมาก เมื่อเห็นว่าการทำลายด้วยไฟไม่เป็นผลทหารพม่าจึงได้หยิบฉวยเอาของมีค่าที่อยู่ในวัดเช่น พระพุทธรูป ฯลฯ ติดมือไปด้วย ล่วงมาถึงสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช ดำริจะกวาดล้างพม่าให้หมดไปจากพื้นแผ่นดินไทยจึงได้ยกทัพขึ้นเหนือมา โดยมีพระยาจักรีและพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพ ได้ทำการกวาดสร้างกองทัพพม่าที่เข้ามายึดครองเมืองหริภุญชัย จึงพ้นจากการปกครองของพม่า ทำให้ประชาชนอยู่ด้วยความสงบสุขและมีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมา จนถึงเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย
ในสมัยเจ้าผู้ครองนครนั้น หมู่บ้านทากาศและวัดทากาศ ไม่ได้ขึ้นต่อเจ้าเมืองผู้ครองนครลำพูน กลับย้อนไปขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลง การปกครองของประเทศ หมู่บ้านทากาศและวัดทากาศ จึงมาขึ้นต่อข้าหลวงประจำจังหวัดลำพูน และคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ตามประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๙ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๓๓ วัดทากาศ สร้างเมื่อ พ.ศ.๑๗๙๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ในอดีตถือกันว่าวัดทากาศเป็นวัดเก๊า ( แรก ) แม้การทำบุญถวายทานสลากภัตวัดทากาศต้องทำก่อนวัดอื่นในท้องที่อำเภอแม่ทา คือในวันเพ็ญเดือน ๑๑ ใต้ ๑๒ เหนือ ( เดือน ๑๒ เป็ง ) และวัดอื่นจึงจะทยอยจัดงานทานสลากภัตได้
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2290
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2481
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดทากาศ
ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของวัดและการท่องเที่ยว
ชื่อกิจกรรม การสวดมนต์ข้ามปี สวัสดีปีใหม่ วันที่เริ่ม ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลาเริ่ม ๒๒.๐๐ น. วันที่สิ้นสุด ๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลาสิ้นสุด ๐๘.๓๐ น.
กิจกรรม วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประจำปี ๒๕๕๖
๑. วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันที่ ๒๕ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
๒. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันที่ ๒๔ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
๓. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันที่ ๒๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
กิจกรรม ปฏิบัติธรรม ทำวัตรสวดมนต์เย็นแปล
วันพระภาคพรรษา ตลอดปี ๒๕๕๖
วันที่เริ่ม ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันที่ ๒๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ วันที่สิ้นสุด
ชื่อกิจกรรม วันสำคัญแห่งชาติ
๑. วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
๒. วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
กิจกรรม งานประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุเจดีย์ศรีหริภุญชัยและงานสืบสานประเพณีวันสงกรานต (ปี๋ใหม่เมือง)
ระยะเวลาดำเนินโครงการ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๖
ความน่าสนใจภายในวัดทากาศ
วัดทากาศ เป็นวัดโบราณเก่าแก่วัดหนึ่งในท้องที่อำเภอแม่ทา ได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีผู้ปกครองนครหริภุญชัย ประมาณเวลาจนถึงบัดนี้ ( พ.ศ. ๒๕๕๖ ) ก็เป็นเวลา ๑๓๕๖ ปี ตามคำบอกเล่าที่สืบต่อกันมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ทวด บอกเล่ากันว่าเมื่อเมืองเชียงใหม่ถูกข้าศึกพม่าเข้าโจมตี จนไม่อาจจะต่อต้านป้องกันไว้ได้ ในที่สุดก็ต้องเสียเมืองให้แก่กองทัพพม่า ในครั้งนั้นผู้คนต่างอพยพกระซานกระเซ็นไปคนละทิศละทาง และมุ่งไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ผ่านเมืองหริภุญชัยขึ้นไปตามลำน้ำแม่ทา จนถึงสถานที่แห่งหนึ่งเป็นที่ราบล้อมด้วยภูเขา มีแม่น้ำสายหนึ่งเรียกว่าแม่น้ำทา ไหลผ่าน เหมาะที่จะตั้งหลักแหล่ง เจ้ากาบแก้วจึงพาหมู่คณะหยุดเพื่อตั้งหลักทำมาหากินอยู่ที่นั้น ต่อมาผู้คนทั้งหลายก็เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะสร้างวัดขึ้นเพื่อศาสนกิจอย่างที่เคยทำมา เมื่ออยู่ในเมืองเชียงใหม่ จึงร่วมกันทำพิธีอธิฐานจิตขอให้เทพยดาทั้งหลายช่วยชี้แนะสถานที่เหมาะสมแก่การสร้างวัดขึ้น ในคืนนั้นได้ปรากฏโคอุศุภราช รูปร่างล่ำสัน ใหญ่โต มาจากไหนไม่มีใครทราบ เมื่อปรากฏกายขึ้นก็เปล่งเสียงร้องก้องกังวาลไปทั่วหมู่บ้าน ร้องพลางเดินพลางและใช้เท้ากาด ( คราด ) เป็นรอยพร้อมทั้งถ่ายปัสสาวะและถ่ายมูลเป็นแนวทางไปด้วย รุ่งเช้าขึ้นมา เจ้ากาบแก้วและคณะก็ได้ออกสำรวจดูพบร่องรอยต่าง ๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้น โดยก่อกำแพงด้วยอิฐถือดินเหนียวไปตามรอยที่โคอุศุภราชสร้างไว้จนจดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม พร้อมสร้างกุฏิสงฆ์ และวิหาร ก่อเป็นโรงกะตึกแบบโบราณไม่มีหน้าต่างแต่มีช่องลมไว้ให้อากาศถ่ายเท ทางด้านข้างทั้งสองด้าน ปั้นเป็นรูปเทวดาล้อมรอบ (แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดนี้ ได้ชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจบูรณะขึ้นได้จนถูกรื้อถอนไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และได้ก่อสร้างขึ้นใหม่แทนที่เดิม) เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเจ้ากาบแก้วและคณะได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดทากาดแก้วกว้างเมืองทา" ที่ใช้ชื่อเช่นนี้เพราะถือเอานิมิตที่โคอุศุภราช มากาด ( คราด ) รอยไว้ การก่อสร้างก็มีเจ้ากาบแก้วเป็นประธาน และสถานที่แห่งนี้มีน้ำทาไหลผ่าน จึงเอาชื่อเหล่านี้มาผสมผสานกันเป็น " วัดทากาดแก้วกว้างเมืองทา "
รูปภาพ/ไฟล์เอกสาร